เมนู

แต่ในกุรุนที กล่าวว่า ไม่ถอนในวันเพ็ญเดือนกัตติกาหลัง ย่อมต้อง
ในฤดูเหมันต์. คำในอรรถกถากุรุนทีแม้นั้นท่านกล่าวชอบ. เพราะพระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เราอนุญาตให้ภิกษุอธิษฐานตลอด 4 เดือน ต่อแต่
นั้นไป อนุญาตให้วิกัปป์
เมื่อฤดูร้อนยังเหลือกว่า 1 เดือน ภิกษุแสวงหา และเมื่อฤดูร้อนยัง
เหลือกว่ากึ่งเดือน ภิกษุทำนุ่ง ชื่อว่าย่อมต้องอาบัติในคิมหฤดู.
เมื่อมีผ้าอาบน้ำฝน แต่เปลือยกายอาบน้ำฝน ชื่อว่าย่อมต้องอาบัติใน
ฤดูฝน.
สงฆ์เมื่อทำปาริสุทธิอุโบสถหรืออธิษฐานอุโบสถ ย่อมต้องอาบัติ.
คณะเมื่อทำสุตตุทเทสและอธิฏฐานอุโบสถ ย่อมต้องอาบัติ.
ภิกษุผู้เดียว เมื่อทำสุตตุทเทส ย่อมต้องอาบัติ. แม้ในปวารณาก็
นัยนี้แล.
สังฆอุโบสถ และสังฆปวารณา ย่อมสำเร็จแก่สงฆ์เท่านั้น.
คณะอุโบสถ และคณะปวารณา ย่อมสำเร็จแก่คณะเท่านั้น.
อธิษฐานอุโบสถและอธิษฐานปวารณา ย่อมสำเร็จแก่บุคคลเท่านั้น.

[ว่าด้วยการปิด 3 อย่างเป็นต้น ]


เมื่อกล่าวคำว่า ข้าพเจ้าต้องปาราชิก เป็นต้น ชื่อว่าปิดวัตถุ ไม่ปิด
อาบัติ.
เมื่อกล่าวคำว่า ข้าพเจ้าได้เสพเมถุนธรรม เป็นต้น ชื่อว่าปิดอาบัติ
ไม่ปิดวัตถุ.

ภิกษุใด ไม่บอกวัตถุ ไม่บอกอาบัติ, ภิกษุนี้ ชื่อว่าปิดทั้งวัตถุทั้ง
อาบัติ.
ที่ชื่อว่าที่กำบัง เพราะปกปิดไว้.
ที่กำบัง คือเรือนไฟ ชื่อว่า ชนฺตาฆรปฏิจฺฉาทิ. แม้ในที่กำบัง
นอกนี้ ก็มีนัยเหมือนกัน.
ภิกษุผู้ปิดประตูอยู่ภายในเรือนไฟ ควรทำบริกรรม. แม้ภิกษุผู้แช่อยู่
ในน้ำ ก็ควรทำบริกรรมนั้นเหมือนกัน. แต่ไม่ควรขบเคี้ยวหรือฉันในสถาน
ทั้ง 2
ของอันปกปิด คือ ผ้า ควรในที่ทั้งปวง
ภิกษุผู้ปกปิด (กาย) ด้วยของปกปิด คือ ผ้านั้นแล้ว สมควรทำกิจ
ทั้งปวง.
บทว่า วหนฺติ มีความว่า ย่อมไป คือย่อมออกไป ได้แก่ ไม่ได้
ความติเตียนหรือคำคัดค้าน. ดวงจันทร์ พ้นจากเมฆ หมอก ควัน ธุลีและ
ราหูแล้ว เปิดเผยดี ย่อมรุ่งเรือง, อันสิ่งเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง กำบังแล้ว
ย่อมไม่รุ่งเรือง. ควงอาทิตย์ก็เหมือนกัน. แม้ธรรมวินัยที่ภิกษุเปิดเผยจำแนก
แสดงอยู่แล จึงรุ่งเรือง, ปกปิดไว้หารุ่งเรืองไม่.

[ว่าด้วยอาบัติที่ผู้อาพาธต้องเป็นต้น]


ภิกษุผู้อาพาธ เมื่อออกปากขอเภสัชอย่างอื่น ในเมื่อจำเป็นต้องทำ
ด้วยเภสัชอย่างอื่น ย่อมต้อง (อาบัติ).
ผู้ไม่อาพาธ เมื่อออกปากขอเภสัช ในเมื่อไม่จำเป็นต้องทำด้วยเภสัช
ย่อมต้อง.